สวัสดีเพื่อนๆ เมื่อเย็นที่ผ่านมากูได้มีโอกาสไปกินข้าวแกงกะหรี่หน้าหมูทอดทงคัตสึในร้านอิสกายะแห่งหนึ่งแถว ๆ ประชาชื่นมาเว้ย แล้วด้วยความที่กำลังกินไปเพลินๆ นั้น ในสมองเลยเกิดคำถามว่า เฮ้ยแกงกะหรี่เนี่ยมันควรเป็นอาหารจากทางอินเดียสิวะ!! แล้วมันกลายมาเป็นญี่ปุ่นได้ไงวะ? เมื่อสงสัยกูเลยไปหาคำตอบ แล้วมาเล่าให้พวกมึงไดอ่านกัน
แกงกะหรี่ (Curry) มันเป็นอีกหนึ่ง อาหารประจำชาติของ ญี่ปุ่น ไปแล้ว แต่จริงๆ แล้วเนี่ยมันเป็นอาหารที่เกิดได้ประมานร้อยกว่าปีแล้ว เป็นอาหารที่เกิดจากปัญหาการขาดสารอาหาร ของคนญี่ปุ่น กลายเป็นโรคที่สร้างความลำบากให้คนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และแล้วอาหารเมนูนี้ก็มาช่วยทำให้โรคนี้หายไปจากประเทศ ญี่ปุ่น มันคือโรคอะไร แล้วอาหารเมนูนี้มี ต้นกำเนิดมาจากอินเดียใช่หรือไม่ ไปอ่านกันต่อเลย
ต้นกำเนิดแกงกะหรี่
หลายคนคงคิดว่าพูดถึง แกงกะหรี่ มันก็ต้องมาจากอินเดียแน่นอน เพราะเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านเครื่องเทศ แต่จริงๆแล้วก็ไม่ได้มาจากอินเดียนะเว้ย แต่เป็น ประเทศ อังกฤษว่ะ งงมั้ย งั้นอ่านต่อกัน
ในช่วงต้นปี ค.ส.1700 ซึ่งย้อนกลับไปถึงช่วงล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก ประเทศอินเดียได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ด้วยเหตุนี้คนอังกฤษได้เอา ใบชา วัฒนธรรม และ เครื่องเทศหลากหลายชนิดจากอินเดียกลับไปยังอังกฤษด้วย และยังกระจายไปทั่วยุโรป วัฒนธรรมอาหารอินเดียจึงได้เริ่มมีอิทธิพลกับประเทศอังกฤษนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
โดยเฉพาะในสมัย Queen Victoria และ Munshi ในปี 1893 Queen ได้จ้างคนรับใช้เป็นคนอินเดีย อายุ 24 ปี ชื่อ Abdul Karim ภายหลังเหตุการณ์นี้ได้นำมาสร้างเป็นหนังเรื่อง QUEEN AND ABDUL
เมื่อวัฒนธรรมอินเดียรุ่งเรืองมากขึ้นประเทศอังกฤษ ก็ทำให้วัฒนธรรมเหล่านี้กระจายไปยังประเทศญี่ปุ่นด้วย ในสมัยเมจิ เป็นยุคที่เประเทศญี่ปุ่นปิดรับวัฒนธรรมใหม่ ๆ อย่างแท้จริง ทำให้ทั้ง 2 ประเทศเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงด้านอาหารด้วย แกงกะหรี่ญี่ปุ่น สมัยนั้นเป็นอาหารชั้นสูง ที่มีร้านอาหารดี ๆ บางแห่งเท่านั้น ก่อนจะมาแพร่หลายลงมาในระดับชุมชน จนเกิดเป็นกระแสขึ้นมา แต่นั่น ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้แกงกะหรี่เป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติญี่ปุ่น
ในช่วงสมัยนั้นคนญี่ปุ่นเป็น “โรคเหน็บชา” กันเยอะมาก ซึ่งโรคนี้ก็รบกวนวิถีชีวิตคนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภายในกองทัพเรือ โรคเหน็บชานี้เกิดขึ้นเพราะคนญี่ปุ่นขาดสารอาหารชนิดหนึ่งนั่นก็คือ Vitamin B1 หรือ Thiamine ซึ่ง Thiamine นี้จะมีอยู่ในแป้งสาลีและเนื้อสัตว์ ซึ่งคนญี่ปุ่นกินข้าวขัดสีเป็นหลักจึงทำให้เป็นโรคนี้ได้ง่าย ทางกองทัพเรือญี่ปุ่นเลยหาทางออกโดยการใช้แกงกะหรี่ ซึ่งจริง ๆ โดยการทำให้แกงข้นขึ้นด้วยวิธี “ROUX” ซึ่งเป็นเทคนิคของอาหารฝรั่งเศส คือการผัดเนยเข้ากับแป้งสาลีในกระทะก่อนเทครีมลงไปเพื่อทำให้ข้นขึ้น อาหารเมนูนี้ก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน โดยการผสมกับเนื้อวัว และ เนื้อหมูลงไปในแกงกะหรี่ และให้คนญี่ปุ่นกินซึ่งทำให้ได้รับสารอาหาร Thiamine มากขึ้นและสามารถแก้ปัญหาโรคเหน็บชาได้ในที่สุด
เคล็ดลับเมนูอาหารนี้ก็คือ “ROUX” ก้อนแกงกะหรี่ญี่ปุ่นเหลี่ยมๆ เป็นบล็อคๆ หักดังป๊อก แล้วใส่ลงไปในน้ำซุป ก็เป็นอันเสร็จสิ้นวิธีการทำอาหาร Roux นี้เราหาซื้อได้ทั่วไปตาม Super Market
วิธีการใช้คือง่ายมาก หัก Roux ลงไปในซุป จะทำให้ซุปเราข้นเหนียว และมีกลิ่นที่หอมหวนในทันที มันคือการลดขั้นการทำอาหารในยุคสมัยที่เร่งรีบเช่นนี้ได้ดีมากๆ วิธีการทำ Roux คือ การที่เรานำเครื่องเทศ มาคั่วให้หอม เอาเนยมาละลาย แล้วผัดกับแป้งสาลีทำให้ข้นเหนียว หลังจากนั้นก็ใส่เครื่องเทศที่คั่วไปแล้วลงไป
ส่วนร้านที่กูจะแนะนำวันนี้ก็คือร้าน OTORO IZAKAYA แถวๆ สน.ประชาชื่น ไปลองกันได้ ของกิน ของแกล้ม มากมาย เครื่องดื่มตามแบบฉบับญี่ปุ่นเลย ไปลุยกันโลด ส่วนหน้าจะพาไปที่ไหนติดตามกันต่อได้ที่ ซอกแซก.com สำหรับวันนี้คงต้องกล่าวคำว่า บ๊าย บาย