“แม่น้ำโขงเคียงคู่วิถีชีวิต”

แม่น้ำโขง

วิถีชีวิตภาคอีสานนั้นเกือบทั่วทั้งภาคจะมีความผูกพันกับแม่น้ำ โดยภาคอีสานนั้นมีแม่น้ำที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำซี แม่น้ำสงคราม แม่น้ำพระเพลิง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย ลำตะพอง เป็นต้น ซึ่ง คนอีสานแม่น้ำเหล่านี้จะเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตของคนอีสาน แม่น้ำแต่ละสายนั้นจะมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแตกต่างกัน และมีแม่น้ำหลายสายที่ไหลผ่านหลายประเทศกว่าจะมาถึงประเทศไทยเรา และยังไหลผ่านอีกหลาย ๆ จังหวัดของประเทศทำให้แม่น้ำนั้นมีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก สำหรับบทความนี้เราจะพาทุกคนไปล่องเรือชมแม่น้ำ ซึ่งแม่น้ำสายนี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นแม่น้ำที่แห่งความเชื่อในเรื่องของพญานาค เป็นแม่น้ำที่มีสีปูน และไหลผ่านนานาประเทศ ซึ่งนั่นก็คือ แม่น้ำโขง (Khong River)

แม่น้ำโขง

ต้นกำเนิดแม่น้ำโขง

แม่น้ำโขงเกิดจากการละลายของน้ำแข็งบริเณที่ราบสูงของเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของยอดเขาเอเวอเรสต์ (Everest) ซึ่งตั้งอยู่ที่เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกแยกอนุทวีปอินเดียกินเนื้อที่ไปหลายประเทศ เช่น ปากีสถาน อินเดียอัฟกานิสถาน ภูฏาน เนปาล จีน โดยมีน้ำโขงนั้นมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศทิเบต ไหลผ่านไปยังแผ่นดินใหญ่อย่างประเทศจีน ก่อนจะไหลเข้าสู่ประเทศพม่า และเริ่มไหลผ่านประเทศไทยที่บริเวณแรกที่สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จากนั้นจะไหลผ่านทิศตะวันออกเข้าสู่ประเทศลาว และได้ไหลวนกลับมาเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งที่บ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แม่น้ำโขงกลายเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว 

แม่น้ำโขงไหลผ่านที่ไหนบ้าง

        แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านจังหวัดของภาคอีสานทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนจะไหลเข้าสู่ประเทศกัมพูชา เวียดนาม และสุดท้ายไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ตามลำดับ

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขงจึงกลายเป็นแม่น้ำที่สำคัญของภาคอีสานเพราะไหลผ่านหลายจังหวัด ชาวอีสานได้ดำรงชีวิตโดยอาศัยการอุปโภคน้ำจากแม่น้ำไม่ว่าจะเป็น ใช้น้ำโขงในการทำการเกษตร ปลูกผัก ปลูกพืชตามขอบตลิ่ง การทำการประมงน้ำจืด กระชังกุ้ง หอย ปู ปลา รวมไปถึงการล่องเรือตามลำน้ำ เพื่อทอดแหจับปลาหรือสัตว์น้ำเป็นอาหาร ด้วยเหตุผลที่ว่าน้ำโขงเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน ทำให้ชาวบ้านจึงเกิดความศรัทธา เลื่อมใส ส่งผลให้เกิดประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง เช่น คนอีสานที่อาศัยตาม 2 ฝั่งแม่น้ำ รวมไปถึงเพื่อนบ้านเราอย่างประเทศลาวจะมีความเชื่อว่าแม่น้ำโขงนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค 

       ซึ่ง เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ สามารถดลบันดาลหรือประทานพรใด ๆ ก็ได้ให้กับชาวอีสานที่อาศัย หากชาวบ้านทำผิดอาจเกิดเพศภัย เช่น น้ำโขงเอ่อท่วม หรือแห้งแล้งกว่าปกติ หากชาวบ้านปฏิบัติตนดีไม่ทำผิดต่อแม่น้ำพื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้านก็จะอุดมสมบูรณ์ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มาก ซึ่งความเชื่อเรื่องพญานาคนี้ทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ เช่น จังหวัดหนองคายช่วงออกพรรษาจะมีประเพณีชมบั้งไฟพญานาคทุกปี จังหวัดเลยมีประเพณีผาสาดลอยเคราะห์ งานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม (เฮือไฟ) เป็นต้น

แม่น้ำโขง

เราจะเห็นได้ว่าแม่น้ำโขงนั้นมีความสำคัญกับชาวอีสานเป็นอย่างมาก เป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวอีสาน ทำให้ผู้คนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ มีที่อยู่อาศัย มีที่ทำมาหากิน มีที่ประกอบอาชีพ ดำรงชีพ เป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม และที่สำคัญยังสร้างมิตรภาพระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

นอกจากนี้เรายังมีเรื่องราวซอกแซกต่าง ๆ อีกมากมาย ทั้งเรื่องเล่า ที่กิน ที่พัก และที่เที่ยว ให้ทุกคนได้อ่านสร้างแรงบันดาลใจในการออกไปท่องเที่ยว สามารถติดตามกันต่อได้ที่ ซอกแซก.com